ค้นหา

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

สุดยอดเทคนิคการทำข้อสอบครับ

๑.เทคนิคการทำข้อสอบโดยรวม
๑.๑ - เลือกทำข้อง่ายก่อน คณิตฯ ข้ามไปก่อนเลย (ถ้าคิดว่ายาก)เพื่อใช้เวลาให้มีประโยชน์ที่สุด เช่นเริ่มจากทำข้อสอบอุปมาอุปไมย แล้วตามด้วยการเรียงลำดับประโยคก่อน เป็นต้น
๑.๒ - ถ้าในโจทย์มีคำว่า ที่สุด เช่น ข้อใดสำคัญที่สุด หรือ ข้อใดถูกที่สุด อย่าตอบตัวเลือกที่ว่าถูกทุกข้อ
๑.๓ - เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ตัวเลือกใดไม่ใช่หรือไม่น่าถูก ให้ใช้ดินสอกาตัดทิ้งลงไปในข้อสอบแบบเล็ก ๆ เลยเพื่อป้องกันการสับสน แล้วค่อยไปพิจารณา ตัวเลือกที่น่าจะใช่คำตอบ แล้วตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ทิ้งไปทีละข้อ จนเหลือข้อที่เป็นคำตอบ
๑.๔- ถ้าเหลือตัวเลือกลดลง แล้วตอบไม่ได้จริงๆ ให้เว้นไว้ก่อน....แต่ก่อนข้ามไปข้ออื่นให้ติ๊ก เครื่อง*ยถูก หน้าข้อที่น่าจะเป็นคำตอบที่สุดไว้ก่อน เผื่อเวลาไม่พอต้องเดา จะได้กลับมาเดาข้อที่ติ๊กไว้ แต่ถ้าเวลาเหลือค่อยกลับมาพิจารณาใหม่
๑.๕ - ก่อนระบายทึบที่กระดาษคำตอบต้องดูให้แน่ชัดว่า ตอบข้อใหน ตัวเลือกใด เพราะการทำข้อสอบแบบข้ามไปมา อาจทำให้สับสนและระบายผิดข้อได้

๒.เทคนิคการทำข้อสอบอุปมาอุปไมย (ออกสอบ ประมาณ ๕ - ๑๐ ข้อ )
- ตัวอย่างข้อสอบ เช่น ก้าวหน้า : ถอยหลัง ; ? : ?
ก. ยินดี : ดีใจ ข. วิ่ง : เดิน ค. เจริญ : เสื่อม ง. สนุก : ร่าเริง
๒.๑ - ดูว่าโจทย์ที่ให้มามีลักษณะคล้อยตามหรือตรงข้ามกัน ถ้าให้แบบคล้อยตามมาก็ไปตัดตัวเลือกที่ตรงข้ามออกไปก่อน ถ้าให้แบบตรงข้ามมาก็ตัด คล้อยตามออกไป (กาทิ้งลงไปในข้อสอบเลย) เช่น ก้าวหน้า : ถอยหลัง ที่โจทย์ให้มามีลักษณะของคำคือ ตรงข้ามกัน ดังนั้นตัวเลือกใดที่ คล้อยตามกันหรือไปทิศทางเดียวกันให้ตัดออกไปก่อน เช่น จากโจทย์ ข้อนี้ตัดตัวเลือก ข้อ ก. และ ง. ออกได้เลย ส่วนข้อ ข. ก็ไปทิศทางเดียวกัน แค่ เร็วกับช้าเท่านั้น ก็ตัดทิ้งได้เลย ส่วนข้อ ค. เป็นตรงข้ามอยู่แล้วเห็นได้ชัด และเป็นคำตรงข้าม และเหลือตัวเลือกเดียวก็ตอบได้เลย

๒.๒ - ต่อมาบางข้อ อาจไม่ใช่โจทย์แบบคล้อยตามหรือตรงข้าม วิธีทำโจทย์คือ หาคำเชื่อมที่ทำให้โจทย์สองตัวที่ให้มามีความ*ย แล้วนำไปแทนค่ากับตัวเลือกที่ให้มา ถ้ามีความ*ย หรือแทนแล้วทำให้ได้ประโยค หรือมีทิศทางไปทางเดียวกันก็ตอบได้ แต่ถ้าให้ดี ลองหาคำเชื่อมมาสัก สอง แบบ จะได้คำตอบที่ชัวร์กว่า เช่น
โจทย์............. รถยนต์ : พวงมาลัย ; ? : ?
ก. ม้า : แส้ ข. * : ปีก ค. ปลา : หาง ง. มอเตอร์ไซค์ : ไฟเลี้ยว
วิธีทำ ตอนแรก หาคำเชื่อมที่พอทำให้สองคำ(โจทย์) มีความ*ย (หาคำง่าย ๆ จากที่เราเข้าใจ)
เช่น รถยนต์ ใช้ พวงมาลัย บังคับเลี้ยว ------ แสดงว่าข้อนี้มีรูปประโยค..........ใช้ .............บังคับเลี้ยว
ต่อมา นำตัวเลือกในข้อ ก ข ค ง มาแทนค่า จะได้
ก. ม้า ใช้ แส้ บังคับเลี้ยว
ข. * ใช้ ปีก บังคับเลี้ยว
ค. ปลา ใช้ หาง บังคับเลี้ยว
ง. มอเตอร์ไซค์ ใช้ ไฟเลี้ยว บังคับเลี้ยว
จากทั้งสี่ข้อ ข้อนี้เลยต้องตอบข้อ ค. เพราะข้ออื่นไม่ค่อยไปในทางเดียวกับโจทย์ เพราะข้อ ก. แส้ แค่ใช้ตี อาจไม่เลี้ยวก็ได้
ส่วนข้อ ข. ปีกแค่ใช้บิน ไม่ใช่ใช่เลี้ยวเพื่อบังคับทิศทาง ส่วนข้อ ง. ตัดไปเลย เพราะไฟเลี้ยว ไม่มีผลทำให้เลี้ยวได้แค่บอกสัญญานเฉย ๆ (ลอง*กข้อ)
เช่น อ้อย : น้ำตาล ; ? : ?
ก. แป้ง : ขนมปัง ข. มะพร้าว : กะทิ ค. ดอกไม้ : เกษร ง. ไม้กวาด : เกลี้ยง
วิธีทำ ตอนแรก หาคำเชื่อมที่พอทำให้สองคำ(โจทย์) มีความ*ย (หาคำง่าย ๆ จากที่เราเข้าใจ)
เช่น อ้อย ใช้ทำ น้ำตาล ------------แสดงว่าลองใช้คำว่า ............. ใช้ทำ ..........
ต่อมา นำตัวเลือกในข้อ ก ข ค ง มาแทนค่า จะได้
ก. แป้ง ใช้ทำ ขนมปัง
ข. มะพร้าว ใช้ทำ กะทิ
ค. ดอกไม้ ใช้ทำ เกษร
ง. ไม้กวาด ใช้ทำ เกลี้ยง
จากทั้งสี่ข้อ จะเห็นได้ว่า ตอนแรก ตัดข้อ ค. และ ง. ไปได้เลย ตัดทิ้งไปก่อนเลย
เหลือข้อ ก. กับ ข. กั๊ก ๆ กันอยู่ แต่ถ้าดูให้ดี ข้อนี้ต้องเริ่มจาก อ้อย เป็นชื่อเฉพาะ เช่นเดียวกับมะพร้าว
ไม่น่าจะเป็น แป้ง เพราะอาจเป็นแป้ง* แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ไม่เจาะจง ข้อนี้เลยต้องตอบข้อ ข.

๒.๓ ถ้ายังไม่ได้คำตอบ หลังจากใช้วิธี ๒.๑ /๒.๒ ก็ต้องมาดูโจทย์ว่าเขาต้องการให้เราหาความสัมพันธ์ หรือ เปรียบเทียบเกี่ยวกับอะไร เช่น แบ่งชนิด แบ่งภาค เล็กไปใหญ่ หรือ ใหญ่ไปเล็ก ที่สำคัญข้อสอบแบบนี้ต้องลองหัดทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ ส่วนโจทย์ ที่ให้มาในรูป xxx : ? ; xxx : ? หรือ xxx : xxx ; xxx : ?
หรือ ? จะอยู่ตรงใหนก็ใช้หลักการเดียวกัน
๓.เทคนิคการทำข้อสอบการเรียงข้อความ (ออกสอบ ประมาณ ๔ - ๗ ข้อ )
โจทย์ จะให้ประโยคมา แล้วให้เรียง ประโยค ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ ถามว่าประโยคที่ให้มาน่าจะอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ หรือ ประโยคใดจัดอยู่ในลำดับที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ๔
วิธีทำ ข้อสอบแบบนี้ มีวิธีเดียวที่ง่ายคือ นำตัวเลือกแต่ละช้อยมาแทนค่าเป็นประโยคแล้วดู ว่าพอฟังได้หรือมีข้อเสีย ข้อติดขัดไหม หรือเป็นเหตุเป็นผลกันไหม ข้อใหนฟังสับสน หรือไม่สอดคล้องก็ตัดออกไปทีละข้อ ตัวอย่างเช่น
ข้อ. จงเรียงประโยคต่อไปนี้ ๑. เพื่อแลกกับรัฐธรรมนูญ
๒. ได้เสียเลือดเนื้อและชีวิตเป็นอันมาก
๓. วันมหาวิปโยคนี้คือ
๔. วันที่คณะนิสิต นักศึกษาและนักเรียน
ก. ๑ ๓ ๒ ๔ ข. ๒ ๑ ๓ ๔ ค. ๓ ๔ ๒ ๑ ง. ๓ ๒ ๔ ๑
วิธีทำ ก็ลองแทนค่าทีละข้อ เช่น
ก. (๑)เพื่อแลกกับรัฐธรรมนูญ (๓)วันมหาวิปโยคนี้คือ (๒)ได้เสียเลือดเนื้อและชีวิตเป็นอันมาก (๔)วันที่คณะนิสิต
นักศึกษาและนักเรียน ------------- จะเห็นว่าดูสับสน ตัดทิ้งไปเลย.......แทนค่าไปทีละข้อ ข. ค. ง. จนได้ข้อที่น่าจะเป้นคำตอบที่สุด ค่อยตอบ เช่น ข้อนี้ต้องตอบข้อ ค. เพราะดูดีที่สุด ดังนี้ (๓)วันมหาวิปโยคนี้คือ (๔)วันที่คณะนิสิต นักศึกษาและนักเรียน (๒)ได้เสียเลือดเนื้อและชีวิตเป็นอันมาก (๑)เพื่อแลกกับรัฐธรรมนูญ
- ส่วนคำถามที่ว่าประโยคใดจัดอยู่ในลำดับที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ๔ ก้ต้องเรียงข้อช้อย หรือตัวเลือกที่ให้มาทั้งหมดให้ได้ก่อน แล้วจึงดูว่า ประโยคใดอยู่ลำดับที่ ๑ ๒ ๓ หรือ ๔ ตามที่โจทย์ ต้องการ

๔ .เทคนิคการทำข้อสอบความสามารถทางภาษาหรือสรุปความ/ตีความ/จับใจความ/วิเคราะห์เนื้อหา (๙ - ๑๒ ข้อย่อย)
ข้อสอบการตีความนี้ต้องทำทีหลังจากข้อสอบอุมาอุปไมย และเรียงลำดับ เพราะต้องใช้เวลามากในการวิเคราะห์โจทย์ เพราะโจทย์จะยาวมาก เทคนิคเบื้องต้นมีดังนี้
๔.๑ - ถ้าโจทย์ยาวเกิน ๓ - ๔ บรรทัด ให้ไปอ่านคำถามก่อนเลยว่าถามอะไรทีละข้อ (อย่าเพิ่งอ่านโจทย์) แล้วดูว่าโจทย์ข้อหนึ่งถามอะไร ข้อสองถามอะไร คร่าวๆ แล้วให้ขีดเส้นใต้ ในข้อสอบสั้นๆ ว่าเขาถามอะไร แต่ถ้าโจทย์ยาวแค่ ๓ -๔ บรรทัด ให้อ่านโจทย์ก่อน ๑ เที่ยวคร่าวๆ แล้วค่อยอ่านคำถามก็ได้
๔.๒ - หลังจากนั้นไปอ่านโจทย์หรือบทความที่เขาให้มา อย่างตั้งใจ แค่๑ เที่ยว พร้อมทั้งขีดเส้นใต้ ข้อความสำคัญ หรือจุดที่น่าสนใจไปด้วยในข้อสอบเลย เช่นเมื่อเจอคำว่า เพราะ... ,สาเหตุ... , ลดลง... , เพิ่มขึ้น ... ,ร้อยละ ..ฯลฯ
๔.๓ เมื่ออ่านจบเที่ยวแรก ให้ไปทำข้อสอบเลย ข้อใหนตอบได้ให้ตอบเลย อย่าลังเล แม้จะมั่นใจแค่ ๖๐ หรื ๗๐ % เพราะการอ่านเที่ยวแรกจะเป็นความจำที่สำคัญที่สุดแล้วตามสัญชาตญานของมนุษย์ (ถ้าอ่านซ้ำหลายครั้งจะสับสน) ส่วนข้อใหนทำยังไม่ได้ ไม่แน่ใจ อ่านโจทย์ซ้ำสัก ๒ - ๓ ครั้ง ดูว่าเขาถามอะไร แล้วไปอ่านเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำถาม*กครั้ง (สังเกตจากการขีดเส้นใต้ไว้ จากข้อ ๔.๒) อย่าอ่านทั้งหมด ถ้าไม่จำเป็น
๔.๔ - ถ้ายังทำไม่ได้*กให้ข้ามไปข้ออื่นก่อน แต่ก่อนข้ามให้ทำตามข้อ ๑.๔ ข้างบนก่อน
๔.๕ - การตอบคำถามให้ใช้บทความที่ให้มาเป็นหลัก อย่าใช้ความคิดเห็นส่วนตัวหรือความรู้สึกส่วนตัว ให้คิดว่าเราเป็นกลาง อย่าคิดในแง่ดีหรือแง่ร้าย
ข้อควรจำ ตามทฤษฎี ใจความสำคัญมักอยู่บรรทัดที่ ๑ - ๓ ของบทความ

๕ . เทคนิคการทำข้อสอบเงื่อนไขทางภาษาและสัญลักษณ์ (๘ - ๑๒ ข้อ)
ลักษณะโจทย์ โจทย์จะให้ เงื่อนไขหรือสัญลักษณ์(โจทย์) ต่างๆ มาให้ อาจจะ ๔ - ๕ ประโยค หรือมากกว่า แล้วให้หาความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้อง แล้วมาถามเป็นข้อย่อย ในข้อย่อยจะมีข้อสรุปมาให้ ๒ ข้อเสมอ การตอบจะใช้ข้อสรุปเป็นหลักว่าจะตอบข้อ ก. ข. ค. หรือ ง. โดยจำสูตรต่อไปนี้เป็นหลักในการตอบ
จำสูตรให้ได้ต้องใช้เสมอ ตอบข้อ ก. เมื่อข้อสรุปที่ให้มา ถูกทั้งคู่
ตอบข้อ ข. เมื่อข้อสรุปผิดทั้งคู่
ตอบข้อ ค. เมื่อข้อสรุปไม่แน่ชัดหรือไม่แน่นอน(สรุปไม่ได้ว่าถูกหรือผิดอาจจริงหรือไม่จริง)ทั้งคู่
ตอบข้อ ง. เมื่อมีผสม ( มีทั้งผิดทั้งถูกหรือผสม อย่างละตัว)
วิธีทำข้อสอบแบบนี้
๕.๑ - อ่านเงื่อนไขหรือโจทย์ที่ให้มาพร้อมทำความเข้าใจไปทีละข้อ ถ้าจะให้ดีเขียนรูปหรือกราฟหรือแผนภูมิประกอบไปเรื่อย ๆ
๕.๒ - ต่อมาไปอ่านคำถามย่อยในแต่ละข้อที่ต้องตอบข้อสอบ ซึ่งจะมีข้อสรุป ๒ ข้อเสมอในแต่ละข้อ
๕.๓ - ต้องสรุปออกมาว่าข้อสรุปที่ ๑ ถูก หรือ ผิด หรือ ไม่แน่นอน และ ข้อสรุปที่ ๒ ถูก หรือ ผิด หรือ ไม่แน่นอน แล้วมาพิจารณาว่าทั้ง ๒ ข้อ เข้าเกณฑ์ใด แล้วตอบตามสูตรข้างบน คือ

จำสูตรให้ได้ต้องใช้เสมอ ตอบข้อ ก. ถูกทั้งคู่ ตอบข้อ ข. ผิดทั้งคู่
ตอบข้อ ค. ไม่แน่ชัดทั้งคู่ ตอบข้อ ง. เมื่อมีผสม ( มีทั้งผิดทั้งถูกหรือผสม อย่างละตัว)
๕.๔- การตอบคำถามแบบนี้ให้ใช้เงื่อนไขที่ให้มาเป็นหลัก อย่าใช้ความคิดเห็นส่วนตัวหรือความรู้สึกส่วนตัว ให้คิดว่าเราเป็นกลาง อย่าคิดในแง่ดีหรือแง่ร้าย เหมือนการทำข้อสอบสรุปความหรือตีความ

ตัวอย่าง จงตอบคำถามข้อ ๑- ๒ จากเงื่อนไขนี้
เงื่อนไข - ทุกคนที่ทำงานในสำนักงาน ก.พ. เป็นเพื่อนของกำธร
- กิตติพรทำงานอยู่กระทรวงมหาดไทย
- จิราพรเป็นเพื่อนกับกำธรและทำงานเกี่ยวกับการเงิน
- ทินกรทำงานอยู่ที่สำนักงาน ก.พ. และเป็นเพื่อนกับจิราพร
- กำธรไม่มีเพื่อนเป็นปลัดอำเภอ
- สาครเป็นปลัดของสำนักงานเขต กทม.
- สมพรทำงานอยู่สำนักงานเขตเดียวกับสาครและเป็นพัฒนากร
ข้อ ๑) ข้อสรุปที่ ๑ ทินกรเป็นเพื่อนกับกำธร
ข้อสรุปที่ ๒ กำธรเป็นเพื่อนกับกิตติพร ตอบ ..................
วิธีทำ ขั้นแรก ต้องหาข้อสรุปที่ ๑ ,๒ ก่อนว่า ถูก หรือ ผิด หรือไม่แน่
ข้อสรุปที่ ๑ ทินกรเป็นเพื่อนกับกำธร (จริง เพราะทุกคนที่ทำงาน ก.พ.เป็นเพื่อนกำธร ทินกรทำงานที่ ก.พ.)
ข้อสรุปที่ ๒ กำธรเป็นเพื่อนกับกิตติพร (ไม่แน่ เพราะเงื่อนไขไม่ได้บอกไว้ อาจเป็นหรือไม่เป็นเพื่อนกันก็ได้)
ดังนั้นข้อนี้ ข้อสรุปที่ ๑ จริง ข้อสรุปที่ ๒ ไม่แน่ ------ ไปดูสูตร จะได้คำตอบคือข้อ ง. เพราะผสมทั้งจริง + ไม่แน่

ข้อ ๒) ข้อสรุปที่ ๑ สมพรเป็นหัวหน้าเขต
ข้อสรุปที่ ๒ จิราพรไม่มีเพื่อนเป็นข้าราชการ
ตอบ ................
วิธีทำ ขั้นแรก ต้องหาข้อสรุปที่ ๑ ,๒ ก่อนว่า ถูก หรือ ผิด หรือไม่แน่
ข้อสรุปที่ ๑ สมพรเป็นหัวหน้าเขต ( ผิด เพราะสมพรเป็นพัฒนากร)
ข้อสรุปที่ ๒ จิราพรไม่มีเพื่อนเป็นข้าราชการ ( ผิด เพราะ ทินกรที่เป็นเพื่อนอยู่ก.พ. ซึ่งเป็นข้าราชการ)
ดังนั้นข้อนี้ ข้อสรุปที่ ๑ ผิด และข้อสรุปที่ ๒ ผิด --------- ไปดูสูตร ผิดทั้งคู่ ต้องตอบ ข.

๖. การเติมคำที่เ*ะสมในช่องว่าง (ภาษาไทย การใช้คำ ) *ก ๓ - ๕ ข้อ
ตัวอย่างโจทย์ ศาลนัด ......... ปากคำของโจทย์และจำเลยวันนี้
ก. สืบสวน ข. ไต่สวน ค. สอบสวน ง. สอบถาม ต้องหัดทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ
๗. คณิตศาสตร์ ประมาณ ๒๕ ข้อ เกี่ยวกับอนุกรม( ๕ -๘ ข้อ) นอกนั้นเป็น โจทย์ปัญหา การวิเคราะห์กราฟ แผนภูมิ การหา% ร้อยละ ต้องหัดทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ

1 ความคิดเห็น: