ค้นหา

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

สุดยอดเทคนิคการทำข้อสอบครับ

๑.เทคนิคการทำข้อสอบโดยรวม
๑.๑ - เลือกทำข้อง่ายก่อน คณิตฯ ข้ามไปก่อนเลย (ถ้าคิดว่ายาก)เพื่อใช้เวลาให้มีประโยชน์ที่สุด เช่นเริ่มจากทำข้อสอบอุปมาอุปไมย แล้วตามด้วยการเรียงลำดับประโยคก่อน เป็นต้น
๑.๒ - ถ้าในโจทย์มีคำว่า ที่สุด เช่น ข้อใดสำคัญที่สุด หรือ ข้อใดถูกที่สุด อย่าตอบตัวเลือกที่ว่าถูกทุกข้อ
๑.๓ - เมื่ออ่านโจทย์แล้ว ตัวเลือกใดไม่ใช่หรือไม่น่าถูก ให้ใช้ดินสอกาตัดทิ้งลงไปในข้อสอบแบบเล็ก ๆ เลยเพื่อป้องกันการสับสน แล้วค่อยไปพิจารณา ตัวเลือกที่น่าจะใช่คำตอบ แล้วตัดตัวเลือกที่ไม่ใช่ทิ้งไปทีละข้อ จนเหลือข้อที่เป็นคำตอบ
๑.๔- ถ้าเหลือตัวเลือกลดลง แล้วตอบไม่ได้จริงๆ ให้เว้นไว้ก่อน....แต่ก่อนข้ามไปข้ออื่นให้ติ๊ก เครื่อง*ยถูก หน้าข้อที่น่าจะเป็นคำตอบที่สุดไว้ก่อน เผื่อเวลาไม่พอต้องเดา จะได้กลับมาเดาข้อที่ติ๊กไว้ แต่ถ้าเวลาเหลือค่อยกลับมาพิจารณาใหม่
๑.๕ - ก่อนระบายทึบที่กระดาษคำตอบต้องดูให้แน่ชัดว่า ตอบข้อใหน ตัวเลือกใด เพราะการทำข้อสอบแบบข้ามไปมา อาจทำให้สับสนและระบายผิดข้อได้

๒.เทคนิคการทำข้อสอบอุปมาอุปไมย (ออกสอบ ประมาณ ๕ - ๑๐ ข้อ )
- ตัวอย่างข้อสอบ เช่น ก้าวหน้า : ถอยหลัง ; ? : ?
ก. ยินดี : ดีใจ ข. วิ่ง : เดิน ค. เจริญ : เสื่อม ง. สนุก : ร่าเริง
๒.๑ - ดูว่าโจทย์ที่ให้มามีลักษณะคล้อยตามหรือตรงข้ามกัน ถ้าให้แบบคล้อยตามมาก็ไปตัดตัวเลือกที่ตรงข้ามออกไปก่อน ถ้าให้แบบตรงข้ามมาก็ตัด คล้อยตามออกไป (กาทิ้งลงไปในข้อสอบเลย) เช่น ก้าวหน้า : ถอยหลัง ที่โจทย์ให้มามีลักษณะของคำคือ ตรงข้ามกัน ดังนั้นตัวเลือกใดที่ คล้อยตามกันหรือไปทิศทางเดียวกันให้ตัดออกไปก่อน เช่น จากโจทย์ ข้อนี้ตัดตัวเลือก ข้อ ก. และ ง. ออกได้เลย ส่วนข้อ ข. ก็ไปทิศทางเดียวกัน แค่ เร็วกับช้าเท่านั้น ก็ตัดทิ้งได้เลย ส่วนข้อ ค. เป็นตรงข้ามอยู่แล้วเห็นได้ชัด และเป็นคำตรงข้าม และเหลือตัวเลือกเดียวก็ตอบได้เลย

๒.๒ - ต่อมาบางข้อ อาจไม่ใช่โจทย์แบบคล้อยตามหรือตรงข้าม วิธีทำโจทย์คือ หาคำเชื่อมที่ทำให้โจทย์สองตัวที่ให้มามีความ*ย แล้วนำไปแทนค่ากับตัวเลือกที่ให้มา ถ้ามีความ*ย หรือแทนแล้วทำให้ได้ประโยค หรือมีทิศทางไปทางเดียวกันก็ตอบได้ แต่ถ้าให้ดี ลองหาคำเชื่อมมาสัก สอง แบบ จะได้คำตอบที่ชัวร์กว่า เช่น
โจทย์............. รถยนต์ : พวงมาลัย ; ? : ?
ก. ม้า : แส้ ข. * : ปีก ค. ปลา : หาง ง. มอเตอร์ไซค์ : ไฟเลี้ยว
วิธีทำ ตอนแรก หาคำเชื่อมที่พอทำให้สองคำ(โจทย์) มีความ*ย (หาคำง่าย ๆ จากที่เราเข้าใจ)
เช่น รถยนต์ ใช้ พวงมาลัย บังคับเลี้ยว ------ แสดงว่าข้อนี้มีรูปประโยค..........ใช้ .............บังคับเลี้ยว
ต่อมา นำตัวเลือกในข้อ ก ข ค ง มาแทนค่า จะได้
ก. ม้า ใช้ แส้ บังคับเลี้ยว
ข. * ใช้ ปีก บังคับเลี้ยว
ค. ปลา ใช้ หาง บังคับเลี้ยว
ง. มอเตอร์ไซค์ ใช้ ไฟเลี้ยว บังคับเลี้ยว
จากทั้งสี่ข้อ ข้อนี้เลยต้องตอบข้อ ค. เพราะข้ออื่นไม่ค่อยไปในทางเดียวกับโจทย์ เพราะข้อ ก. แส้ แค่ใช้ตี อาจไม่เลี้ยวก็ได้
ส่วนข้อ ข. ปีกแค่ใช้บิน ไม่ใช่ใช่เลี้ยวเพื่อบังคับทิศทาง ส่วนข้อ ง. ตัดไปเลย เพราะไฟเลี้ยว ไม่มีผลทำให้เลี้ยวได้แค่บอกสัญญานเฉย ๆ (ลอง*กข้อ)
เช่น อ้อย : น้ำตาล ; ? : ?
ก. แป้ง : ขนมปัง ข. มะพร้าว : กะทิ ค. ดอกไม้ : เกษร ง. ไม้กวาด : เกลี้ยง
วิธีทำ ตอนแรก หาคำเชื่อมที่พอทำให้สองคำ(โจทย์) มีความ*ย (หาคำง่าย ๆ จากที่เราเข้าใจ)
เช่น อ้อย ใช้ทำ น้ำตาล ------------แสดงว่าลองใช้คำว่า ............. ใช้ทำ ..........
ต่อมา นำตัวเลือกในข้อ ก ข ค ง มาแทนค่า จะได้
ก. แป้ง ใช้ทำ ขนมปัง
ข. มะพร้าว ใช้ทำ กะทิ
ค. ดอกไม้ ใช้ทำ เกษร
ง. ไม้กวาด ใช้ทำ เกลี้ยง
จากทั้งสี่ข้อ จะเห็นได้ว่า ตอนแรก ตัดข้อ ค. และ ง. ไปได้เลย ตัดทิ้งไปก่อนเลย
เหลือข้อ ก. กับ ข. กั๊ก ๆ กันอยู่ แต่ถ้าดูให้ดี ข้อนี้ต้องเริ่มจาก อ้อย เป็นชื่อเฉพาะ เช่นเดียวกับมะพร้าว
ไม่น่าจะเป็น แป้ง เพราะอาจเป็นแป้ง* แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ไม่เจาะจง ข้อนี้เลยต้องตอบข้อ ข.

๒.๓ ถ้ายังไม่ได้คำตอบ หลังจากใช้วิธี ๒.๑ /๒.๒ ก็ต้องมาดูโจทย์ว่าเขาต้องการให้เราหาความสัมพันธ์ หรือ เปรียบเทียบเกี่ยวกับอะไร เช่น แบ่งชนิด แบ่งภาค เล็กไปใหญ่ หรือ ใหญ่ไปเล็ก ที่สำคัญข้อสอบแบบนี้ต้องลองหัดทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ ส่วนโจทย์ ที่ให้มาในรูป xxx : ? ; xxx : ? หรือ xxx : xxx ; xxx : ?
หรือ ? จะอยู่ตรงใหนก็ใช้หลักการเดียวกัน
๓.เทคนิคการทำข้อสอบการเรียงข้อความ (ออกสอบ ประมาณ ๔ - ๗ ข้อ )
โจทย์ จะให้ประโยคมา แล้วให้เรียง ประโยค ๑ ๒ ๓ ๔ หรือ ถามว่าประโยคที่ให้มาน่าจะอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ หรือ ประโยคใดจัดอยู่ในลำดับที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ๔
วิธีทำ ข้อสอบแบบนี้ มีวิธีเดียวที่ง่ายคือ นำตัวเลือกแต่ละช้อยมาแทนค่าเป็นประโยคแล้วดู ว่าพอฟังได้หรือมีข้อเสีย ข้อติดขัดไหม หรือเป็นเหตุเป็นผลกันไหม ข้อใหนฟังสับสน หรือไม่สอดคล้องก็ตัดออกไปทีละข้อ ตัวอย่างเช่น
ข้อ. จงเรียงประโยคต่อไปนี้ ๑. เพื่อแลกกับรัฐธรรมนูญ
๒. ได้เสียเลือดเนื้อและชีวิตเป็นอันมาก
๓. วันมหาวิปโยคนี้คือ
๔. วันที่คณะนิสิต นักศึกษาและนักเรียน
ก. ๑ ๓ ๒ ๔ ข. ๒ ๑ ๓ ๔ ค. ๓ ๔ ๒ ๑ ง. ๓ ๒ ๔ ๑
วิธีทำ ก็ลองแทนค่าทีละข้อ เช่น
ก. (๑)เพื่อแลกกับรัฐธรรมนูญ (๓)วันมหาวิปโยคนี้คือ (๒)ได้เสียเลือดเนื้อและชีวิตเป็นอันมาก (๔)วันที่คณะนิสิต
นักศึกษาและนักเรียน ------------- จะเห็นว่าดูสับสน ตัดทิ้งไปเลย.......แทนค่าไปทีละข้อ ข. ค. ง. จนได้ข้อที่น่าจะเป้นคำตอบที่สุด ค่อยตอบ เช่น ข้อนี้ต้องตอบข้อ ค. เพราะดูดีที่สุด ดังนี้ (๓)วันมหาวิปโยคนี้คือ (๔)วันที่คณะนิสิต นักศึกษาและนักเรียน (๒)ได้เสียเลือดเนื้อและชีวิตเป็นอันมาก (๑)เพื่อแลกกับรัฐธรรมนูญ
- ส่วนคำถามที่ว่าประโยคใดจัดอยู่ในลำดับที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ๔ ก้ต้องเรียงข้อช้อย หรือตัวเลือกที่ให้มาทั้งหมดให้ได้ก่อน แล้วจึงดูว่า ประโยคใดอยู่ลำดับที่ ๑ ๒ ๓ หรือ ๔ ตามที่โจทย์ ต้องการ

๔ .เทคนิคการทำข้อสอบความสามารถทางภาษาหรือสรุปความ/ตีความ/จับใจความ/วิเคราะห์เนื้อหา (๙ - ๑๒ ข้อย่อย)
ข้อสอบการตีความนี้ต้องทำทีหลังจากข้อสอบอุมาอุปไมย และเรียงลำดับ เพราะต้องใช้เวลามากในการวิเคราะห์โจทย์ เพราะโจทย์จะยาวมาก เทคนิคเบื้องต้นมีดังนี้
๔.๑ - ถ้าโจทย์ยาวเกิน ๓ - ๔ บรรทัด ให้ไปอ่านคำถามก่อนเลยว่าถามอะไรทีละข้อ (อย่าเพิ่งอ่านโจทย์) แล้วดูว่าโจทย์ข้อหนึ่งถามอะไร ข้อสองถามอะไร คร่าวๆ แล้วให้ขีดเส้นใต้ ในข้อสอบสั้นๆ ว่าเขาถามอะไร แต่ถ้าโจทย์ยาวแค่ ๓ -๔ บรรทัด ให้อ่านโจทย์ก่อน ๑ เที่ยวคร่าวๆ แล้วค่อยอ่านคำถามก็ได้
๔.๒ - หลังจากนั้นไปอ่านโจทย์หรือบทความที่เขาให้มา อย่างตั้งใจ แค่๑ เที่ยว พร้อมทั้งขีดเส้นใต้ ข้อความสำคัญ หรือจุดที่น่าสนใจไปด้วยในข้อสอบเลย เช่นเมื่อเจอคำว่า เพราะ... ,สาเหตุ... , ลดลง... , เพิ่มขึ้น ... ,ร้อยละ ..ฯลฯ
๔.๓ เมื่ออ่านจบเที่ยวแรก ให้ไปทำข้อสอบเลย ข้อใหนตอบได้ให้ตอบเลย อย่าลังเล แม้จะมั่นใจแค่ ๖๐ หรื ๗๐ % เพราะการอ่านเที่ยวแรกจะเป็นความจำที่สำคัญที่สุดแล้วตามสัญชาตญานของมนุษย์ (ถ้าอ่านซ้ำหลายครั้งจะสับสน) ส่วนข้อใหนทำยังไม่ได้ ไม่แน่ใจ อ่านโจทย์ซ้ำสัก ๒ - ๓ ครั้ง ดูว่าเขาถามอะไร แล้วไปอ่านเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับคำถาม*กครั้ง (สังเกตจากการขีดเส้นใต้ไว้ จากข้อ ๔.๒) อย่าอ่านทั้งหมด ถ้าไม่จำเป็น
๔.๔ - ถ้ายังทำไม่ได้*กให้ข้ามไปข้ออื่นก่อน แต่ก่อนข้ามให้ทำตามข้อ ๑.๔ ข้างบนก่อน
๔.๕ - การตอบคำถามให้ใช้บทความที่ให้มาเป็นหลัก อย่าใช้ความคิดเห็นส่วนตัวหรือความรู้สึกส่วนตัว ให้คิดว่าเราเป็นกลาง อย่าคิดในแง่ดีหรือแง่ร้าย
ข้อควรจำ ตามทฤษฎี ใจความสำคัญมักอยู่บรรทัดที่ ๑ - ๓ ของบทความ

๕ . เทคนิคการทำข้อสอบเงื่อนไขทางภาษาและสัญลักษณ์ (๘ - ๑๒ ข้อ)
ลักษณะโจทย์ โจทย์จะให้ เงื่อนไขหรือสัญลักษณ์(โจทย์) ต่างๆ มาให้ อาจจะ ๔ - ๕ ประโยค หรือมากกว่า แล้วให้หาความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้อง แล้วมาถามเป็นข้อย่อย ในข้อย่อยจะมีข้อสรุปมาให้ ๒ ข้อเสมอ การตอบจะใช้ข้อสรุปเป็นหลักว่าจะตอบข้อ ก. ข. ค. หรือ ง. โดยจำสูตรต่อไปนี้เป็นหลักในการตอบ
จำสูตรให้ได้ต้องใช้เสมอ ตอบข้อ ก. เมื่อข้อสรุปที่ให้มา ถูกทั้งคู่
ตอบข้อ ข. เมื่อข้อสรุปผิดทั้งคู่
ตอบข้อ ค. เมื่อข้อสรุปไม่แน่ชัดหรือไม่แน่นอน(สรุปไม่ได้ว่าถูกหรือผิดอาจจริงหรือไม่จริง)ทั้งคู่
ตอบข้อ ง. เมื่อมีผสม ( มีทั้งผิดทั้งถูกหรือผสม อย่างละตัว)
วิธีทำข้อสอบแบบนี้
๕.๑ - อ่านเงื่อนไขหรือโจทย์ที่ให้มาพร้อมทำความเข้าใจไปทีละข้อ ถ้าจะให้ดีเขียนรูปหรือกราฟหรือแผนภูมิประกอบไปเรื่อย ๆ
๕.๒ - ต่อมาไปอ่านคำถามย่อยในแต่ละข้อที่ต้องตอบข้อสอบ ซึ่งจะมีข้อสรุป ๒ ข้อเสมอในแต่ละข้อ
๕.๓ - ต้องสรุปออกมาว่าข้อสรุปที่ ๑ ถูก หรือ ผิด หรือ ไม่แน่นอน และ ข้อสรุปที่ ๒ ถูก หรือ ผิด หรือ ไม่แน่นอน แล้วมาพิจารณาว่าทั้ง ๒ ข้อ เข้าเกณฑ์ใด แล้วตอบตามสูตรข้างบน คือ

จำสูตรให้ได้ต้องใช้เสมอ ตอบข้อ ก. ถูกทั้งคู่ ตอบข้อ ข. ผิดทั้งคู่
ตอบข้อ ค. ไม่แน่ชัดทั้งคู่ ตอบข้อ ง. เมื่อมีผสม ( มีทั้งผิดทั้งถูกหรือผสม อย่างละตัว)
๕.๔- การตอบคำถามแบบนี้ให้ใช้เงื่อนไขที่ให้มาเป็นหลัก อย่าใช้ความคิดเห็นส่วนตัวหรือความรู้สึกส่วนตัว ให้คิดว่าเราเป็นกลาง อย่าคิดในแง่ดีหรือแง่ร้าย เหมือนการทำข้อสอบสรุปความหรือตีความ

ตัวอย่าง จงตอบคำถามข้อ ๑- ๒ จากเงื่อนไขนี้
เงื่อนไข - ทุกคนที่ทำงานในสำนักงาน ก.พ. เป็นเพื่อนของกำธร
- กิตติพรทำงานอยู่กระทรวงมหาดไทย
- จิราพรเป็นเพื่อนกับกำธรและทำงานเกี่ยวกับการเงิน
- ทินกรทำงานอยู่ที่สำนักงาน ก.พ. และเป็นเพื่อนกับจิราพร
- กำธรไม่มีเพื่อนเป็นปลัดอำเภอ
- สาครเป็นปลัดของสำนักงานเขต กทม.
- สมพรทำงานอยู่สำนักงานเขตเดียวกับสาครและเป็นพัฒนากร
ข้อ ๑) ข้อสรุปที่ ๑ ทินกรเป็นเพื่อนกับกำธร
ข้อสรุปที่ ๒ กำธรเป็นเพื่อนกับกิตติพร ตอบ ..................
วิธีทำ ขั้นแรก ต้องหาข้อสรุปที่ ๑ ,๒ ก่อนว่า ถูก หรือ ผิด หรือไม่แน่
ข้อสรุปที่ ๑ ทินกรเป็นเพื่อนกับกำธร (จริง เพราะทุกคนที่ทำงาน ก.พ.เป็นเพื่อนกำธร ทินกรทำงานที่ ก.พ.)
ข้อสรุปที่ ๒ กำธรเป็นเพื่อนกับกิตติพร (ไม่แน่ เพราะเงื่อนไขไม่ได้บอกไว้ อาจเป็นหรือไม่เป็นเพื่อนกันก็ได้)
ดังนั้นข้อนี้ ข้อสรุปที่ ๑ จริง ข้อสรุปที่ ๒ ไม่แน่ ------ ไปดูสูตร จะได้คำตอบคือข้อ ง. เพราะผสมทั้งจริง + ไม่แน่

ข้อ ๒) ข้อสรุปที่ ๑ สมพรเป็นหัวหน้าเขต
ข้อสรุปที่ ๒ จิราพรไม่มีเพื่อนเป็นข้าราชการ
ตอบ ................
วิธีทำ ขั้นแรก ต้องหาข้อสรุปที่ ๑ ,๒ ก่อนว่า ถูก หรือ ผิด หรือไม่แน่
ข้อสรุปที่ ๑ สมพรเป็นหัวหน้าเขต ( ผิด เพราะสมพรเป็นพัฒนากร)
ข้อสรุปที่ ๒ จิราพรไม่มีเพื่อนเป็นข้าราชการ ( ผิด เพราะ ทินกรที่เป็นเพื่อนอยู่ก.พ. ซึ่งเป็นข้าราชการ)
ดังนั้นข้อนี้ ข้อสรุปที่ ๑ ผิด และข้อสรุปที่ ๒ ผิด --------- ไปดูสูตร ผิดทั้งคู่ ต้องตอบ ข.

๖. การเติมคำที่เ*ะสมในช่องว่าง (ภาษาไทย การใช้คำ ) *ก ๓ - ๕ ข้อ
ตัวอย่างโจทย์ ศาลนัด ......... ปากคำของโจทย์และจำเลยวันนี้
ก. สืบสวน ข. ไต่สวน ค. สอบสวน ง. สอบถาม ต้องหัดทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ
๗. คณิตศาสตร์ ประมาณ ๒๕ ข้อ เกี่ยวกับอนุกรม( ๕ -๘ ข้อ) นอกนั้นเป็น โจทย์ปัญหา การวิเคราะห์กราฟ แผนภูมิ การหา% ร้อยละ ต้องหัดทำแบบฝึกหัดเยอะ ๆ

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

อาชีพ ครู

อาชีพ  ครู 
 ที่เป็นเบ้าหลอมจิตแห่งวิญญาณของมนุษย์ กลับมีบุคคลไม่กี่คน ที่มีอิทธิพล ทำให้ครูต่างกัน แยกประเภท แยกศักดิ์ศรี แยกฐานะ ของความเป็นครูโดยสิ้นเชิง อาทิเช่น ครูรัฐบาล ครูอัตราจ้าง ครูบ้านนอก ครูมหาวิทยาลัย ครูเอกชน ครูกศน. ครูประถม ครูมัธยม ครูบนดอย ครูเทศบาล วิทยฐานะชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ  ประเภทของครูเหล่านี้ และวิทยฐานะเหล่านี้ เป็นคำตอบสำหรับผู้ประกอบอาชีพครูได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว  แล้วใครผู้ใดที่ไหนมาแยกประเภทครูเหล่านี้ หากแต่เป็นองค์กรผู้ควบคุมครูนั่นเองที่กำหนดคุณลักษณะ คุณสมบัติของครูทั้งหมดเอาไว้ นี่ไม่ใช่เรื่องน่าน้อยใจประการใด แต่อยากจะเห็นองค์กรผู้ควบคุมครูทั้งประเทศได้ให้โอกาส คำว่า ครู มากกว่านี้ ไม่โอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง มากจนเกินไปจนทำให้อาชีพครูเป็นอาชีพที่ใครๆ ก็ไม่อยากทำ ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องของผู้เขียนเอง ผู้เขียนเคยเป็นครูอัตราจ้างของโรงเรียนเอกชน 3 ปี และหลักจากนั้นก็ได้รับการบรรจุต่อมาแต่การบรรจุยังไม่ถึง 5 ปีดังที่กล่าวไว้ข้างต้นผู้เขียนไม่ได้จบหลักสูตรครูโดยตรง  และไม่มีประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ซึ่งผู้เขียนสอนในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ปวส. สายบริหารธุรกิจ ถ้าเทียบก็คือระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (อนุปริญญา)โดยมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาสั่งสอนศิษย์และได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสายบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นสายที่ตรงกับสายวิชาการสอนโดยไม่เบี่ยงเอนแม้แต่นิด เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการศึกษา 300,000 บาท พอ 2 ปีให้หลังหลังจากที่ผู้เขียนจบการศึกษามาแล้ว คณะผู้บริหารสถาบันได้แจ้งว่าครูท่านใดที่ไม่มีวุฒิทางด้านการศึกษาต้องไปเรียนต่ออีก 1 ปี ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่สามารถที่จะมีสิทธิ์  ในการสอนได้ ความนัยน์นั่นคือ ถ้าผู้เขียนยังอยากจะทำงานในอาชีพนี้อยู่จะต้องลงทุนอีกประมาณ 20,000 บาทในการศึกษาต่ออีก 1 ปี แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าผู้เขียนได้กู้เงินธนาคารในการศึกษาต่อปริญญาโทและยังใช้หนี้ไม่หมด และต้องมาเรียนวิชาชีพเพิ่มอีก 1 ปี ถ้าไม่เรียนก็ไม่สามารถทำการสอนได้ นี่เป็นปัญหาเพียงแค่นี้ใช่หรือไม่ แน่นอนครับ ไม่ใช่ เพราะปัญหามากกว่านั้นครับนั่นคือความแตกต่างของคำว่าครูไง เงิน 20,000 ถ้าเป็นประเภทของครูเอกชนอาจจะเป็นเงินที่มากโข  เลยทีเดียวอาจจะเป็นเงินเดือนตั้ง 3 เดือน หรือ 4 เดือนก็เป็นได้ แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนุกแน่นอน นี่เป็นแค่ส่วนประกอบเล็ก ๆ ของความแตกต่างประเภทหนึ่งของ ครู แต่สำหรับผู้เขียนเองก็คงต้องยอมรับแล้วครับว่าอาชีพที่เหมาะสมกับผู้เขียนมากที่สุดคืออาชีพ ครู เพราะผู้เขียนมีความศรัทธาในอาชีพครูไม่น้อยกว่าครูคนใด อีกมุมมองของความแตกต่างนั่นก็คือ Income ในภาษาของนักธุรกิจหรือรายได้นั่นเอง ทำไมมีความต่างกัน ซึ่งผู้เขียนไม่จำเป็นต้องอธิบายให้ละเอียดเพราะ  ครูแต่ละประเภทจะทราบกันดีอยู่แล้ว และที่สำคัญที่สุดคือผู้ที่ควบคุมครูที่รู้มากที่สุด
                ท่านผู้อ่านครับไม่ใช่เรื่องง่ายที่บุคคลคนหนึ่งจะเลือกทางเดินของชีวิตทั้งชีวิตมาเป็น ครู แต่บุคคลคนนั้นเขาเลือกเพราะหัวใจของเขาคือ ครู ผู้เป็นหนึ่งในเสมาที่มีมุมมองที่กล้าคิดกล้าทำโปรดอย่าแบ่งกั้นหรือกีดกันเขาโดยวิธีการการวิธีการหนึ่งเลย สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นครูได้มีโอกาสเหมือน ๆกันดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม แล้วครูจะเป็นกำลังสำคัญในการผลิตผลิตผลแห่งความเป็นมนุษย์ให้สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

ครูมืออาชีพ : สิ่งจำเป็นที่ควรมีและควรเป็น

 
 
                                                                                                                                
........ทุกคน ทุกอาชีพในโลกต้องมีครูเป็นที่พึ่ง
 
                ครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง (profession) ที่ได้รับการยอมรับมาช้านานกว่าร้อยปีอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะประเทศไทย ความเป็นวิชาชีพของอาชีพครู มีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 6 ประการคือ
                - วิชาชีพที่ให้การบริหารแก่สังคมในลักษณะที่มีความจำเป็นและเจาะจง (social service)
                - สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจะต้องใช้วิธีการแห่งปัญญาในการให้บริหา(intellectual method)
                - สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ กว้างขวางลึกซึ้ง โดยใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร (long period training )
                - สมาชิกในวงการวิชาชีพครูจักต้องมีเสรีภาพในการใช้วิชาชีพนั้น ๆ ตามมาตรฐานของวิชาชีพ (Professional autonomy) 
                - วิชาชีพครูจะต้องมีจรรยาบรรณ (professional ethics) และ
                - วิชาชีพครูจะต้องมีสถาบันวิชาชีพเป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์ จรรโลงความเป็นมาตรฐานวิชาชีพ (professional institute)
                เนื่องจากความเป็นมืออาชีพ (professional) จึงมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการคือ
                - บุคคลนั้นต้องยึดถืออาชีพนั้น ๆ ให้สอดคล้องกับวิชาชีพของตน
                - บุคคลนั้นจะต้องมีความรู้ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีทักษะที่เหมาะสมต่อวิชาชีพนั้น ๆ
                - บุคคลนั้นจะต้องมีจิตวิญญาณต่ออาชีพ กล้ารับผิดชอบ กล้าเผชิญต่อผลการกระทำอันเนื่องมาจากภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ

อ่านอย่างไรให้จำได้

 โดยทั่วไปเเล้ว การอ่านหนังสือทุกครั้งเหนือนเราได้กินยานอนหลับ อ่านที่ไรง่วงทุกที่ 555(ใครเป็นบ้าง)
ผมขอท้าวความนิดนึง ผมเองตอนที่เรียนจบใหม่ๆ ก็เป็นคนหนึ่งที่คิดว่าเราคงสอบบรรจุไม่ได้หรอก คนสอบแข่งขันก็เยอะ สอบก็ต้องสอบหลายวิชา หนังสือก็เล่มอย่างหนาเลย โอ้ยท้อแท้........
ก็ได้มีโอกาส ไปสอบมาครั้งนึงแบบไม่มีเป้าหมาย หลักสูตรก็ไม่ศึกษา  โน้นไปอ่าน ภาค ข ก็เลยทั้งๆที่ต้องสอบ ภาค ก ก่อน และผลออกมาว่าไม่ติดฝุ่น เลย  ก็ทำให้เราคิดว่าการสอบเข้ารับราชการมันยากจริงๆ 

  อ้าวว่าจะบอกเรื่อง อ่านหนังสือแต่บอกเรื่องของตัวเองซะเยอะเลย (เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังอีก)
  การอ่านหนังสือแบบไม่มีเวลาก็ให้วิธีนี้เลยครับ

1. จดบันทึกเรื่องที่เราอยากจะจำ ใส่กระดาษ เเผ่นเล็กๆๆไว้ วันละซัก 4-5 ใบเอาไว้ท่องจำ                (น้องที่ทำงานโรงงานเเละก็ไปสอบบรรจุได้เขาบอกมา)
2. เขียนบทความที่เป็นกำลังใจ ไว้ในหนังสือของเราที่เราอ่าน เช่น "สู้ๆๆ เราทำได้" อันนี้ผมทำเองเลยเวลาอ่านเเล้วเกิดความท้อแท้ พอเห็นบทความของเรา ก็กลับมาลุกขึ้นสู้อีกครั้ง ครับ "ยังไงก็ฝากติดตามบทความของผมด้วยครับ"

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเตรียมตัวสอบบรรจุ

สวัสดีเพื่อนๆทุกคน ที่กำลังจะเป็นคุณครูอย่างที่ตั้งหวังเอาไว้
ตอนนี้โอกาสมาถถึงเเล้วคือการสอบในเดือนเมษายน ที่จะถึงนี้
ก็เลยอยากจะแนะนำวิธีการเตรียมตัวที่ผมใช้จริงมาฝากกัน
1. อันนี้เพื่อนที่บรรจุก่อนแนะนำให้ทำ คือการเข้าวัดทำบุญ ถวายสังฆทาน ขอพรพระทำให้ใจสงบ
2.เวลาที่อ่านแล้วท้อแท้  ให้นึกถึงหน้าของพ่อ แม่และคนที่เรารัก  จะมีพลังขึ้นมาสู้ทั้นที
3.อ่านเนื้อหาให้แน่น 1 เล่ม เเละหาซื้อเเบบทดสอบในวิชาเดียวกันมาทำ อีก 3-4 เล่มเป็นการย้ำความรู้
4.ถ้าเป็นครูอยู่เเล้วควรตั้งใจทำงานให้เต็มที่ อย่าเอาเวลาสอนมาอ่านหนังสือสอบ

ยังมีอีกเยอะครับเดี๋ยวจะนำมาบอกกันอีก
ขอให้โชคดีครับ

ตัวอย่างข้อสอบครู

ข้อ 1. เกาะ : น้ำ :arrow: บ้าน : ?
ตัวเลือก
1. รั้ว 2. หลังคา
3. ถนน 4. สนามหญ้า
5. บันได

ข้อ 2. เรือ : หางเสือ :arrow: รถยนต์ : ?
ตัวเลือก
1. คลัช 2. พวงมาลัย
3. เบรก 4. แบตเตอรี่
5. คันเร่ง

ข้อ 3. กระแสไฟฟ้า : สายไฟ :arrow: ? : ?
ตัวเลือก
1. คนขับ : รถยนต์ 2. เณร : โบสถ์
3. รถยนต์ : ถนน 4. ครู : นักเรียน
5. นักเรียน : โรงเรียน

ข้อ 4. พัดลม : ความร้อน :arrow: ? : ?
ตัวเลือก
1. วิทยุ : เสียง 2. หนังสือ : ความรู้
3. รถ : ความสะดวก 4. เครื่องดูดฝุ่น : ความสกปรก
5. ตู้เย็น : ความร้อน

ข้อ 5. เด็ก ๆ ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน ผู้ใหญ่ชอบอ่านหนังสือนวนิยาย สุดากำลังอ่านหนังสือ
นวนิยาย ดังนั้น
ตัวเลือก
1. สุดาเป็นผู้ใหญ่แล้ว
2. สุดาชอบอ่านหนังสือนวนิยาย
3. สุดาไม่ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน
4. สุดาชอบอ่านทั้งหนังสือการ์ตูนและนวนิยาย
5. สรุปแน่นอนไม่ได้
ขอตอบดังนี้นะครับ ใครมีความเห็นที่ดีกว่านี้มาลองตอบกันได้
ข้อ 1 ตอบ 1. รั้ว
แนวคิด จากโจทย์ เกาะมีน้ำล้อมรอบ บ้านก็น่าจะมีรั้วล้อมรอบ

ข้อ 2 ตอบ 2.พวงมาลัย
แนวคิด จากโจทย์ เรือมีหางเสือควบคุมทิศทาง รถยนต์ก็ต้องเป็นพวงมาลัย

ข้อ 3 ตอบ 3. รถยนต์ : ถนน
แนวคิด จากโจทย์ กระแสไฟฟ้า ใช้ สายไฟเป็นตัวนำ คำตอบข้อนี้ก็น่าจะเป็นรถยนต์กับถนน ทีแรกว่าจะเลือก คนขับกับรถยนต์ แต่มาดูอีกทีไม่น่าจะใช่

ข้อ 4 ตอบ 4. เครื่องดูดฝุ่น : ความสกปรก
แนวคิด จากโจทย์ สังเกตุจาก พัดลมขับไล่ความร้อน ดังนั้น น่าจะตอบ เครื่องดูดฝุ่น ขับไล่ความสกปรก อีกข้อหนึ่งที่ใกล้เคียงคือตู้เย็น กับ ความร้อน แต่ที่ไม่เลือกข้อนี้เพราะว่า ลักษณะการทำงานของเครื่องดูดฝุ่นที่ไล่ความสกปรก ชัดกว่าตู้เย็นไล่ความร้อน ส่วนมากตู้เย็นจะให้ความเย็นไม่ได้ไล่ความร้อน

ข้อ 5 ตอบ 5. สรุปแน่นอนไม่ได้
แนวคิด จากโจทย์
ข้อแรกตอบว่าสุดาเป็นผู้ใหญ่แล้ว ถ้าดูผิวเผินอาจจะเป็นคำตอบแต่ว่าวิเคราะห์ตามหลักความเป็นจริงแล้วความเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้วัดจากประเภทการอ่านหนังสือ
ข้อสองตอบว่า สุดาชอบอ่านหนังสือนวนิยาย ตัดทิ้งเนื่องจากว่าโจทย์บอกว่าสุดากำลังอ่าน ไม่ได้หมายความว่าชอบถึงอ่าน
ส่วนข้อ 3. สุดาไม่ชอบอ่านหนังสือการ์ตูน และ 4.สุดาชอบอ่านทั้งหนังสือการ์ตูนและนวนิยาย สองข้อนี้ก็ตัดทั้ง เหตุผลเดียวกับข้อ สอง

นำแบบฟอร์มต่างที่คุณครูควรมีเก็บไว้มาฝากครับ

คิดว่าคุณครูทุกท่านคงกำลังยุ่งๆกับการทำแบบบันทึกต่างก็เลยนำมาฝากกันครับ
http://school.obec.go.th/maeyangp/form_s.htm

เชิญให้นิยาม ความหมายของคำว่า "ครู"

เชื่อว่าแต่ละท่าน  ต้องมีคุณครูกันทุกคนและครูของท่านเป็นยังไงกันบ้างครับ

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนวทางสู่การเป็นคุณครู

       สวัสดีครับ..ครู ครู  ครู  ฉันเป็นครูแดนใกล้...ครับก็หยิบยก เพลงที่เกี่ยวกับครู เก่าๆๆ มาเริ่มต้นกัน ผมเป็นคนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝัน ว่าอยากจะรับราชการครู  ก็คนเหมือนกับทุกๆท่านที่อยากทำงานเเบบมั่นคงอะครับ
      และตอนนี้ผมก็ได้เป็นคุณครูสมใจแล้ว แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ โอ้....เรื่องมันยาว เอาเป็นว่าข้อความนี้ก็ทักทายกันครับ เดี๋ยวจะเล่าเส้นทางการเป็นครูให้ฟังครับ